ความเครียดดูจะเป็นของคู่กันสำหรับคนวัยทำงานเพื่อนบางคนอาจหาทางออกให้กับความเครียดด้วยการพึ่งยาชนิดต่าง ๆ เพื่อช่วยคลายเครียดซึ่งเป็นยาที่ทำจากสารเคมีและอาจมีผลข้างเคียงแถมต้องกินยาอยู่เรื่อยๆจนเกิดผลเสียตามมาคือติดยาดื้อยาและในที่สุดเกิดการสะสมพิษซึ่งส่งผลในระยะยาวต่อร่างกายของเราได้แต่ยังมีอีก



ทางเลือกหนึ่งของคนไทยที่ทั้งปลอดภัยและเหมาะสมกับยุคข้างยากหมากแพงเช่นนี้นั่นคือสมุนไพรซึ่งมีสรรพคุณในการรักษาและบรรเทาอาการเจ็บไข้ในเบื้องต้นได้จริงเริ่มต้นจาก


สมุนไพรใกล้ตัวเราดังนี้



1. ขี้เหล็ก


หลายคนคงจะเคยกินแกงขี้เหล็กเมนูเด็ดที่มีรสชาติกลมกล่อมหวานมันซ่อนขมเล็กน้อยซึ่งรสขมๆของขี้เหล็กนั้นช่วยทำให้เจริญอาหาร มีการศึกษาพบว่าใบอ่อนและดอกตูมของขี้เหล็กมีสารที่ชื่อว่าแอนไฮโดรบาราคอล (Anhydrobarakol) ซึ่งมีสรรพคุณช่วยคลายเครียดและมีฤทธ์ิเป็นยานอนหลับอ่อน ๆ อีกด้วย


เรามีวิธีนำขี้เหล็กมาปรุงเป็นยาสมุนไพรคลายเครียด 2 สูตรดังนี้


นำใบอ่อนและดอกตูมแห้ง 30 กรัม (หากเป็นชนิดสดใช้ 50 กรัม) ใส่โหลแก้วเทเหล้าขาวใส่พอท่วมยาแช่ไว้ 7 วันหมั่นคนบ่อยๆทุกวันเมื่อครบ 7 วันใช้ผ้าขาวบางกรองเอาแต่นํ้ายา จิบครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนนอน


ใช้ใบอ่อนแห้งประมาณ 1 กำมือต้มกับนํ้า 1 ลิตรกรองด้วยผ้าขาวบางเอาแต่นํ้าดื่มก่อนนอนครั้งละ 1 แก้วข้อควรระวังคือห้ามดื่มมากเกินไปเพราะอาจทำให้ท้องเสียได้



2. ชุมเห็ดไทย


เป็นสมุนไพรไทยอีกชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณกล่อมประสาทคลายเครียดและทำให้นอนหลับได้ดี



วิธีทำ


นำเมล็ดชุมเห็ดไทยประมาณ 1-. ช้อนโต๊ะ (5-15 กรัม) มาคั่วจนเกรียม ต้มกับนํ้า 1 ลิตร เคี่ยวจนเหลือ 800 มิลลิลิตร กรองด้วยผ้าขาวบาง เอาแต่นํ้าดื่ม แบ่งดื่มครั้งละ 200 มิลลิลิตร เช้า-กลางวัน-เย็น หลังอาหาร หรือชงดื่มแทนนํ้าชาได้ โดยใส่เมล็ดที่คั่วแล้ว 1 หยิบมือลงในกานํ้าชาขนาดประมาณครึ่งลิตรเติมนํ้าร้อนให้เต็มดื่มวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร



3. ดอกบัวหลวง


ใช้ดอกบัวหลวงสีขาวที่ใกล้จะบาน 5 ดอก ต้มกับนํ้า 1 ลิตรให้เดือดนาน 10 นาทีดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง หรือดื่มได้ทั้งวัน ชาดอกบัวหลวงจะมีรสฝาด ๆ หอม ๆ ดื่มแล้วชุ่มชื่นหัวใจ ทำให้หายอ่อนเพลีย สดชื่นขึ้นแถมช่วยให้นอนหลับสบาย



4. พริกไทย


นํ้าต้นพริกไทยแห้งที่หั่นแล้วประมาณ 1 หยิบมือมาคั่วแล้วใส่ในกาชาเติมนํ้าร้อนจนเต็ม ชาต้นพริกไทยดื่มได้ทั้งวันหรือวันละ 3-4 ครั้ง ทำให้สมองปลอดโปร่งและช่วยลดความเครียดได้ดีมาก



5.พลู


นํ้าใบหรือเถาพลูแห้งมาคั่วหรืออบให้แห้ง ชงดื่มแทนนํ้าชาได้โดยใช้ใบหรือเถาพลูที่คั่วแล้ว ประมาณ 1 หยิบมือต้มนํ้าร้อน 1 ลิตร หรือชงใส่นํ้า 1 กาชา ดื่มวันละ 3-4 ครั้งหรือดื่มทั้งวันก็ได้ ชาพลูจะออกรสเผ็ดร้อนเล็กน้อย ทำให้ตาสว่างสดชื่นขึ้น และแก้เครียดได้



6. พวงชมพูดอกขาว


ใช้เถาแห้ง 1 กำมือ หรือรากแห้ง 1/2 กำมือ ต้มกับนํ้า 4 ถ้วย ต้มให้เหลือ 2 ถ้วย รับประทาน ครั้งละ 3 ช้อนโต๊ะก่อนนอน ช่วยกล่อมประสาท และทำให้นอนหลับได้ดี



7. ฟ้าทะลายโจร


ใช้ต้นฟ้าทะลายโจรตากแห้งประมาณ 1 กำมือใหญ่ ๆ หั่นและต้มกับนํ้า 1 ลิตร กรองด้วยผ้าขาวบางเอาแต่นํ้า ดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า-เย็นก่อนอาหาร แก้อาการปวดหัวโดยไม่มีสาเหตุและคลายเครียดได้



8. มะนาวหรือมะกรูด


สมุนไพรใกล้ตัวที่มีอยู่ทุกครัวเรือน มีสรรพคุณช่วยให้นอนหลับ บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยและทำให้หายเครียดได้ซึ่งมีวิธีทำง่ายๆ 2 วิธีได้แก่


ใช้ลูกมะนาวหรือมะกรูด 1 ลูกผ่าซีก บีบเอาแต่นํ้าใส่แก้ว เติมเกลือและนํ้าตาลทรายไม่ขัดขาว อย่างละครึ่งช้อนกาแฟ ใส่นํ้าร้อนให้เต็มแก้ว คนให้เข้ากัน ดื่มอุ่น ๆ ทันทีเมื่อมีอาการจะช่วย คลายเครียดได้รวดเร็ว แต่หากดื่มมากเกินไปอาจทำให้ท้องเสียได้ นำใบมะนาวหรือมะกรูดแห้งประมาณ 1 หยิบมือมาคั่ว นำไปใส่กาชา เติมนํ้าร้อนจนเต็ม ชงเป็นชาดื่มได้ทั้งวัน หรือวันละ 3-4 ครั้ง ช่วยขับเลือดลมและแก้เครียดดีมาก



9. มะเฟือง


ใช้มะเฟืองที่แก่จัด 1 ผล ล้างให้สะอาด หั่นและแกะเมล็ดออก คั้นนํ้าใส่แก้วเติมเกลือครึ่งช้อนกาแฟ และเทนํ้าร้อนลงไปให้เต็มแก้ว คนให้เข้ากัน ดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า-เย็นก่อนอาหาร ช่วยระงับความฟุ้งซ่าน ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น



10. มะละกอ


ใช้ลูกมะละกอขนาดเขื่องๆ (8 ขีด-1 กิโลกรัม) 1 ลูก ปอกเปลือก ล้างนํ้าให้สะอาด แกะเมล็ดออกแล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ต้มกับนํ้า 1 ลิตร นานประมาณ 15-20 นาทีหรือจนกระทั่ง นํ้าเดือดยกลงกรองด้วยผ้าขาวบางเอาแต่นํ้า ยกนํ้าที่ได้ตั้งไฟอีกครั้ง นำใบชาชนิดใดก็ได้ ใส่ลงไป 1 หยิบมือ ต้มต่อจนนํ้าเดือด ดื่มแทนนํ้าชาได้ทั้งวัน





ความเครียด


ความเครียดสามารถเกิดได้ทุกแห่งทุกเวลาอาจจะเกิดจากสาเหตุภายนอกเช่น การย้ายบ้าน การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วย การหย่าร้าง ภาวะว่างงานความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว หรืออาจจะเกิดจากภายในผู้ป่วยเอง เช่นความต้องการเรียนดี ความต้องการเป็นหนึ่งหรือความเจ็บป่วย


ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้งผลดีและผลเสีย


ชนิดของความเครียด



  1. Acute stress คือความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกันโดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ตัวอย่างความเครียด


  • เสียง

  • อากาศเย็นหรือร้อน

  • ชุมชนที่คนมากๆ

  • ความกลัว

  • ตกใจ

  • หิวข้าว

  • อันตราย


  1. Chronic stress หรือความเครียดเรื้อรังเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ตัวอย่างความเครียดเรื้อรัง


  • ความเครียดที่ทำงาน

  • ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

  • ความเครียดของแม่บ้าน

  • ความเหงา

ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด


เมื่อมีภาวะกดดันหรือความเครียดร่างกายจะฮอร์โมนที่เรียกว่า cortisol และ adrenaline ฮอร์โมนดังกล่าวจะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็วเพื่อเตรียมพร้อมให้ร่างกายแข็งแรง และมีพลังงานพร้อมที่จะกระทำเช่นการวิ่งหนีอันตราย การยกของหนีไฟถ้าหากได้กระทำฮอร์โมนนั้นจะถูกใช้ไป ความกดดันหรือความเครียดจะหายไป แต่ความเครียดหรือความกดดันมักจะเกิดขณะที่นั่งทำงาน ขับรถ กลุ่มใจไม่มีเงินค่าเทอมลูก ความเครียดหรือความกดดันไม่สามารถกระทำออกมาได้เกิดโดยที่ไม่รู้ตัว ทำให้ฮอร์โมนเหล่านั้นสะสมในร่างกายจนกระทั่งเกิดอาการทางกายและทางใจ


ผลเสียต่อสุขภาพ


ความเครียดเป็นสิ่งปกติที่สามารถพบได้ทุกวัน หากความเครียดนั้นเกิดจากความกลัวหรืออันตราย ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะเตรียมให้ร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้ อาการทีปรากฏก็เป็นเพียงทางกายเช่นความดันโลหิตสูงใจสั่น แต่สำหรับชีวิตประจำวันจะมีสักกี่คนที่จะทราบว่าเราได้รับความเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มีความเครียดสะสมเรื้อรังทำให้เกิดอาการทางกาย และทางอารมณ์ อ่านรายละเอียดที่นี่


โรคทางกายที่เกิดจากความเครียด


โรคทางเดินอาหาร โรคปวดศีรษะไมเกรน


โรคปวดหลัง โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ติดสุรา โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ภูมิคุ้มกันต่ำลง เป็นหวัดง่าย อุบัติเหตุขณะทำงาน การฆ่าตัวตายและมะเร็ง


ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากความเครียด


คุณมีความเครียดหรือไม่


ถามตัวคุณเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่


อาการแสดงทาง : มึนงง ปวดตามกล้ามเนื้อ กัดฟัน ปวดศีรษะ


ร่างกาย : แน่นท้อง เบื่ออาหาร นอนหลับยาก หัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ มือเย็น อ่อนเพลีย ท้องร่วง ท้องผูก จุกท้อง มึนงง เสียงดังให้หู คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ปวดท้อง


อาการแสดงทางด้านจิตใจ : วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ


อาการแสดงทางด้านอารมณ์ : โกรธง่าย วิตกกังวล ร้องไห้ ซึมเศร้า ท้อแท้ หงุดหงิด ซึมเศร้า มองโลกในแง่ร้าย นอนไม่หลับ กัดเล็บหรือดึงผมตัวเอง


อาการแสดงทางพฤติกรรม : รับประทานอาหารเก่ง ติดบุหรี่สุรา โผงผาง เปลี่ยนงานบ่อย แยกตัว


การแก้ไขเมื่ออยู่ในภาวะที่เครียดมาก


หากท่านมีอาการเครียดมากและแสดงออกทางร่างกายดังนี้



  • อ่อนแรงไม่อยากจะทำอะไร

  • มีอาการปวดตามตัว ปวดศีรษะ

  • วิตกกังวล

  • มีปัญหาเรื่องการนอน

  • ไม่มีความสุขกับชีวิต

  • เป็นโรคซึมเศร้า

ให้ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำ 10 ประการ




  1. ให้นอนเป็นเวลาและตื่นเป็นเวลา เวลาที่เหมาะสมสำหรับการนอนคือเวลา 22.00น.เมื่อภาวะเครียดมากจะทำให้ความสามารถในการกำหนดเวลาของชีวิต( Body Clock )เสียไป ทำให้เกิดปัญหานอนไม่หลับหรือตื่นง่าย การกำหนดเวลาหลับและเวลาตื่นจะทำให้นาฬิกาชีวิตเริ่มทำงาน และเมื่อความเครียดลดลง ก็สามารถที่จะหลับได้เหมือนปกติ ในการปรับตัวใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ บางครั้งเมื่อไปนอนแล้วไม่หลับเป็นเวลา 45 นาที ให้หาหนังสือเบาๆมาอ่าน เมื่อง่วงก็ไปหลับ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือให้ร่างกายได้รับแสงแดดยามเช้า เพื่อส่งสัญญาณให้ร่างกายปรับเวลา


  2. หากเกิดอาการดังกล่าวต้องจัดเวลาให้ร่างกายได้พัก เช่นอาจจะไปพักร้อน หรืออาจจะจัดวาระงาน งานที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วนก็ให้หยุดไม่ต้องทำ

  3. ให้เวลากับครอบครัวในวันหยุด อาจจะไปพักผ่อนหรือรับประทานอาหารนอนบ้าน


  4. ให้เลื่อนการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆในช่วงนี้ เช่นการซื้อรถใหม่ การเปลี่ยนบ้านใหม่ การเปลี่ยนงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดความเครียด

  5. หากคุณเป็นคนที่ชอบทำงานหรือชอบเรียนให้ลดเวลาลงเหลือไม่เกิน 40 ชม.สัปดาห์


  6. การรับประทานอาหารให้รับประทานผักให้มากเพราะจะทำให้สมองสร้าง serotonin เพิ่มสารตัวนี้จะช่วยลดความเครียด และควรจะได้รับวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เพียงพอ

  7. หยุดยาคลายเครียด และยาแก้โรคซึมเศร้า

  8. ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอาจจะมีการเต้นรำด้วยก็ดี

หากปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวแล้วยังมีอาการของความเครียดให้ปรึกษาแพทย์


ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเครียด




  1. ความเครียดเหมือนกันทุกคนหรือไม่ สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดในแต่ละคนไม่เหมือนกันและการตอบสนองต่อความเครียดก็แตกต่างในแต่ละคน


  2. ความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีจริงหรือไม่ ความเครียดเปรียบเหมือนสายกีตาร์ ตึงไปก็ไม่ดี หย่อนไปเสียก็ไม่ไพเราะ เช่นกันเครียดมากก็มีผลต่อสุขภาพเครียดพอดีจะช่วยสร้างผลผลิต และความสุข


  3. จริงหรือไม่ที่ความเครียดมีอยู่ทุกแห่งคุณไม่สามารถจัดการกับมันได้ แม้ว่าจะมีความเครียดทุกแห่งแต่คุณสามารถวางแผนที่จะจัดการกับงาน ลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วนของงานเพื่อลดความเครียด


  4. จริงหรือไม่ที่ไม่มีอาการคือไม่มีความเครียด ไม่จริงเนื่องจากอาจจะมีความเครียดโดยที่ไม่มีอาการก็ได ้และความเครียดจะสะสมจนเกินอาการ


  5. ควรให้ความสนใจกับความเครียดที่มีอาการมากๆใช่หรือไม่ เมื่อเริ่มเกิดอาการความเครียดแม้ไม่มากก็ต้องให้ความสนใจ เช่นอาการปวดศีรษะ ปวดท้องเพราะอาการเพียงเล็กน้อยจะเตือนว่าคุณต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินชีวิตเพื่อลดความเครียด


  6. ความเครียดคือโรคจิตใช่หรือไม่ ไม่ใช่เนื่องจากโรคจิตจะมีการแตกแยกของความคิด บุคลิคเปลี่ยนไปไม่สามารถดำเนินชีวิตเหมือนคนปกติ

  7. ขณะที่มีความเครียดคุณสามารถทำงานได้อีก แต่คุณต้องจัดลำดับก่อนหลัง และความสำคัญของงาน

  8. ไม่เชื่อว่าการเดินจะช่วยผ่อนคลายความเครียด การเดินจะช่วยผ่อนคลายความเครียดนั้น


  9. ความเครียดไม่ใช่ปัญหาเพราะเพียงแค่สูบบุหรี่ความเครียดก็หายไป การสูบบุหรี่หรือดื่มสุราจะทำให้ลืมปัญหาเท่านั้นนอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาแล้วยังก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

เมื่อใดต้องปรึกษาแพทย์



  • เมื่อคุณรู้สึกเหมือนคนหลงทางหาทางแก้ไขไม่เจอ

  • เมื่อคุณกังวลมากเกินกว่าเหตุ และไม่สามารถควบคุม

  • เมื่ออาการของความเครียดมีผลต่อคุณภาพชีวิตเช่น การนอน การรับประทานอาหาร งานที่ทำ ความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้าง

ความเครียดคืออะไร ความเครียดกับผู้หญิง ความเครียดในเด็ก ความเครียดที่ทำงาน ความเครียดหลังการสูญเสีย การจัดการกับความเครียด การจัดการกับความโกรธ การแก้ปัญหาระหว่างบุคคล